top of page

EVIDENCE RESPONSE DIVISION

     หน้าที่การทำงานหลักของแผนกพิสูจน์หลักฐาน คือ การตรวจสถานที่เกิดเหตุและการถ่ายรูปหลักฐานภายในที่เกิดเหตุ กำหนดแนวทางค้นหาวัตถุพยาน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของคดี รวมไปถึงการตรวจลายนิ้วมือ ตรวจเอกสาร ลายมือเขียน และนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการตรวจหาและเพิ่มน้ำหนักพยานหลักฐานในทางคดีให้มีประสิทธิภาพ เช่น การตรวจองค์ประกอบของวัตถุพยานด้วยเทคนิคทางฟิสิกส์/เคมี หรือ การตรวจทางชีวภาพ/ดีเอ็นเอ เป็นแผนกที่ทำงานร่วมกับแผนกนิติวิทยาศาสตร์เสมอ

 

• ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานทางชีวภาพ/ชีวเคมีจากเหยื่อและหลักฐานในที่เกิดเหตุ เช่น ตรวจสอบเลือด, สารคัดหลั่ง, เส้นผม และอื่นๆที่สามารถถอดรหัส DNA เพื่อใช้เป็นหลักฐานบ่งชีิถึงตัวคนร้าย

• ถือข้อมูลหลักฐานทางชีวภาพ/ชีวเคมี

กรณีที่ 1: ผล DNA ตรงกับข้อมูล DNA ใน CODIS (Combined DNA Index System) และ NDIS (National DNA Index System) เจ้าหน้าที่จะทราบชื่อของบุคคลดังกล่าว

กรณีที่ 2: ผล DNA ไม่ตรงกับข้อมูล DNA ใน CODIS (Combined DNA Index System) และ NDIS (National DNA Index System) เจ้าหน้าที่จะไม่ทราบชื่อของบุคคลดังกล่าวและต้องเก็บหลักฐาน DNA จากผู้เข้าข่ายต้องสงสัยด้วยตัวเอง

• ได้รับข้อมูลหลักฐานทางชีวภาพ/ชีวเคมีในวันที่ 3 ของอีเว้นท์ (หลังจากเจ้าหน้าที่พิสูจน์ที่เกิดเหตุส่งหลักฐาน)

• ข้อมูล DNA ในฐานข้อมูลของ PBI: Here

 

• ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานทางฟิสิกส์/ชีวภาพจากหลักฐานในที่เกิดเหตุและอื่นๆ เช่น ตรวจลายมือเขียน, ลายเซีนต์, ชนิดน้ำหมึก/กระดาษ, เศษดิน/พืชที่ติดมากับของกลาง, ลายนิ้วมือ, รอยเท้า, เศษเส้นใย และอื่นๆที่สามารถบ่งชี้ถึงลักษณะของคนร้ายและรูปแบบการก่อคดี โดยเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลทางชีวภาพ/ชีวเคมี

• ถือข้อมูลหลักฐานทางฟิสิกส์/ชีวภาพ

กรณีที่ 1: ผล biometrics ตรงกับข้อมูลในระบบ NGI (Next Generation Identification) เจ้าหน้าที่จะทราบชื่อของบุคคลดังกล่าว

กรณีที่ 2: ผล biometrics ไม่ตรงกับข้อมูลในระบบ NGI (Next Generation Identification) เจ้าหน้าที่จะไม่ทราบชื่อของบุคคลดังกล่าวและต้องเก็บตัวอย่างจากผู้เข้าข่ายต้องสงสัยด้วยตัวเอง

• ได้รับข้อมูลหลักฐานทางฟิสิกส์/ชีวภาพในวันที่ 3 ของอีเว้นท์ (หลังจากเจ้าหน้าที่พิสูจน์ที่เกิดเหตุส่งหลักฐาน)

• ข้อมูลอ้างอิงการตรวจรอยเท้า: https://bit.ly/2GCFmEt

 

• ทำหน้าที่ตรวจสอบและเก็บหลักฐานในที่เกิดเหตุ เช่น การตรวจสอบหาอาวุธสังหาร วัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับรูปคดี

• ถ่ายรูป วาดรูป วาดแผนผังของตำแหน่งศพและสถานที่เกิดเหตุ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานอ้างอิงสถานที่เกิดเหตุในชั้นศาล โดยใช้จินตนาการความเป็นไปได้ในเหตุการณ์ทุกแง่มุมว่า อาจจะพบพยานหลักฐานในสถานที่ใดได้บ้าง เพื่อค้นหาวัตถุพยาน ทั้งที่จุดเกิดเหตุและรอบ ๆ จุดที่เกิดเหตุ โดยละเอียดครบถ้วนและเป็นระบบ และพยายามหลีกเลี่ยงโดยไม่สัมผัสกับวัตถุและสิ่งของในสถานที่เกิดเหตุด้วยมือเปล่า รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่สันนิษฐานว่าอาจมีวัตถุพยานปรากฏอยู่เช่นลูกบิดประตู หน้าต่าง ถ้วยชากาแฟ อาวุธ ฯลฯ

• เมื่อได้รับแจ้งเหตุหรือบังเอิญประสบเหตุหรือถูกตามให้เข้าไปในสถานที่พบศพหรือสถานที่เกิดเหตุเป็นบุคคลแรก (The First Officer at the Crime Scene) ควรจดบันทึก วัน เวลา ที่เข้าไปในที่พบศพหรือที่เกิดเหตุ

• ถือข้อมูล

- สภาพศพตอนที่พบ (ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า)

- ของใช้ที่ติดตัวศพ

- สิ่งของในที่เกิดเหตุ (เจ้าหน้าที่พิสูจน์ที่เกิดเหตุต้องวิเคราะห์และเก็บหลักฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับคดีได้เพียง 2 ชิ้น)

- สภาพที่เกิดเหตุ

• การเก็บหลักฐาน

- การเข้าตรวจหลักฐานครั้งแรก สามารถเลือกหลักฐานได้ 1-2 ชิ้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบในแต่ละคดี

- การเก็บหลักฐานในครั้งที่ 2 ต้องเว้นระยะห่างจากการเก็บหลักฐานครั้งแรก 2 วันตามเวลาจริง และจะเลือกหลักฐานเพิ่มได้อีก 1 ชิ้นเท่านั้น

- การเก็บหลักฐานครั้งที่ 3 เป็นต้นไป จะต้องเว้นระยะห่างจากการเก็บหลักฐานครั้งล่าสุด เป็นเวลา 2 วันตามเวลาจริง (เก็บหลักฐานชิ้นใหม่ได้ทุกๆ 2 วันตามเวลาจริง)

- หลักฐานบางชิ้นจะปนเปื้อนหรือเสียหายไปตามกาลเวลา ดังนั้นการเก็บหลักฐานในครั้งแรกนั้นถือว่าสำคัญกว่าการเก็บหลักฐานในครั้งอื่นๆ

• ได้รับข้อมูลในวันแรกของคดี

รูปแบบการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทคนิคแลปภายในคอมมู

รูปแบบการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทคนิคแลป DNA ภายในคอมมู

รูปแบบการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่พิสูจน์ที่เกิดเหตุภายในคอมมู

Officers List

bottom of page